Workshop Note 02 - Landscape Design, Public Realm, and Activities

แนวคิดพื้นฐานการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม โดย P Landscape

การเวิร์กช็อปครั้งที่ 2 สำหรับ 10 ทีมผู้เข้ารอบโครงการ One Bangkok Urban Furniture Competition 2022 “Seatscape & Beyond” จัดขึ้นในวันที่ 3 กันยายน 2565 ในช่วงเริ่มต้นทีมงานจาก One Bangkok ได้อธิบายถึงรายละเอียดพื้นที่ส่วนต่างๆ ของโครงการ One Bangkok เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานสำหรับทีมที่เข้าร่วมโครงการ โครงการ One Bangkok  ประกอบไปด้วย พื้นที่สีเขียวที่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 50% ของพื้นที่โครงการทั้งหมด พื้นที่ร้านค้าจำนวน 3 โซน พื้นที่โรงแรม พื้นที่อาคารสำนักงาน พื้นที่พักอาศัย และส่วน The Forum เป็นพื้นที่สันทนาการสำหรับการจัดอีเว้นท์หรือคอนเสิร์ตต่างๆ 

 

เพื่อให้การออกแบบเฟอร์นิเจอร์นั้นสอดคล้องกับคุณค่าหลัก (core principles) ทั้ง 3 ของโครงการ ทีมงานจาก One Bangkok จึงได้อธิบายถึงคุณค่าหลักที่สำคัญของโครงการ One Bangkok ดังนี้ 

 

  • People Centricity การออกแบบที่คำนึงถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง ทำงานร่วมกับวิศวกรรมเพื่อสร้างระบบต่างๆ อย่างเช่น ระบบการสร้างความเย็นในพื้นที่กลางแจ้ง ปล่อยอากาศให้หมุนเวียน หรือร้านค้าขนาดเล็ก สำหรับการจัดจำหน่ายเครื่องดื่มและของว่าง ที่เป็นโจทย์ที่เพิ่มความน่าสนใจให้กับตำแหน่งการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ได้
  • Green Sustainability พื้นที่สีเขียวที่มีความกลมกลืนกับพื้นที่สีเขียวโดยรอบ สร้างพื้นที่สาธารณะ สร้างเครือข่ายสีเขียวที่เชื่อมต่อกับสวนสาธารณะอื่นๆ ของกรุงเทพฯ เน้นเรื่องของความยั่งยืนด้วยการตอบรับกับมาตรฐานการรับรองระดับโลก อย่าง LEEDs การคัดเลือกพืชพรรณที่ปลูกภายในโครงการที่เป็นเหมือนกับสวนในเมืองที่ยกระดับคุณภาพชีวิตได้

  • Smart City Living การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นำเสนอ Smart pole ภายในจุดต่างๆ ในโครงการ ประกอบไปด้วยกล้อง CCTV 360 องศา ลำโพงสำหรับเปิดเสียงดนตรีสร้างบรรยากาศ ปุ่มฉุกเฉินสำหรับแจ้งเหตุด่วนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายในพื้นที่ เพื่อให้พนักงานสามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันที ภายในพื้นที่ยังมี wifi ครอบคลุมตลอดทั้งโครงการ

 

นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในพื้นที่สาธารณะในโครงการ โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ Happening Experiences อย่างเช่น Water feature ที่เกิดขึ้นทุกเย็น และโปรแกรมทั่วไปที่เกิดขึ้นทุกวัน รูปแบบที่สองคือกิจกรรมที่เกิดตามแต่ละช่วงเทศกาล อย่างเช่นงานลอยกระทง งานวันสงกรานต์ การใช้ศิลปะเข้ามาช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ในการเข้าชม รวมถึงกิจกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้เข้าใช้งานพื้นที่ที่มีความหลากหลาย ทั้งคนรักสัตว์ กลุ่มวัยรุ่นที่มาแสดงดนตรี ตลาด สตรีตโชว์ ไปจนถึงงานแฟชั่นวีคที่จะเกิดขึ้น

 

ลำดับต่อมา P Landscape ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “สตรีตเฟอร์นิเจอร์สำหรับพื้นที่สาธารณะ” โดยได้ให้คำนิยามถึงพื้นที่สาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจเบื้องต้น ว่าเป็นสถานที่ที่คนสามารถเข้ามาใช้พื้นที่ร่วมกันได้ ทำกิจกรรมที่หลากหลายโดยไม่ได้จำกัดลักษณะการใช้งาน ซึ่งจะแบ่งการใช้งานได้เป็นลักษณะใหญ่ๆ 3 ลักษณะ ได้แก่

 

  1. 1. การใช้งานเพื่อนันทนาการ พักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงเป็นพื้นที่สีเขียวด้วย 
  2. 2. รองรับกิจกรรมที่ active ออกมาในรูปแบบของลานที่มีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนรูปแบบของกิจกรรมไปตามการใช้งานต่างๆ

  3. 3. Transition Space มีพื้นที่ระหว่างพื้นที่โซนต่างๆ 

 

เพื่อให้พื้นที่สาธารณะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่นั้นๆ จำเป็นจะต้องมี Urban Aminities หรือสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้ใช้งานพื้นที่ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น เสาไฟให้แสงสว่าง ป้ายบอกทาง ส่วนที่พักสำหรับบังแดดหรือบังฝน รวมไปถึงสตรีตเฟอร์นิเจอร์ ที่ทุกทีมจะออกแบบเพื่อตอบโจทย์ในแต่ละบริเวณต่างๆ ของโครงการ 

P Landscape ได้แนะนำหลักการการออกแบบเฟอร์นิเจอร์สาธารณะ 4 ข้อ ดังนี้ 

 

1. Simple: ตอบโจทย์ความเรียบง่าย 

2. Complex: ซับซ้อน แต่ก็ตอบโจทย์การใช้งานได้เช่นกัน 

3. Seamless: ผสมกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม

4. Disruptive: โดดเด่นจากสภาพแวดล้อม 

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการออกแบบเฟอร์นิเจอร์สาธารณะ มีรายละเอียดดังนี้

 

  • Visibility: การมองเห็น มีระยะการมองเห็นอย่างไร

  • Circulation: ชิ้นงานอยู่ตำแหน่งส่วนไหนของโครงการ อย่างเช่นอยู่ตรง Transition Space หรืออยู่บริเวณริมถนน ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่ควรกีดขวางการสัญจรต่างๆ หรือถ้าหากอยู่ส่วนใจกลาง Plaza เฟอร์นิเจอร์ก็ต้องมีคุณสมบัติอีกแบบหนึ่งที่สามารถเคลื่อนตัวได้รอบชิ้นงานนั้นๆ เป็นต้น

  • Flexibility and Adaptability: การใช้งาน การจัดวางที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย

  • Surrounding: ผสมผสานตามสภาพแวดล้อมในบริเวณนั้นๆ เช่น พื้นที่ที่มีต้นไม้ เฟอร์นิเจอร์สามารถผสมกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมเดิมที่มีอยู่

  • User: ผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง เช่น ออกแบบพื้นที่สำหรับเด็ก มีการออกแบบให้เหมาะสมกับผู้ใช้ ทั้งเรื่องของขนาดและสัดส่วน 

  • Function: เป็นการใช้งานพิเศษต่างๆ เช่นมีที่ชาร์จ USB หรือแผงโซล่าร์ที่สร้างพลังงาน เป็นต้น

 

P Landscape ได้แชร์วิธีคิดการออกแบบที่ยึดโยงอยู่กับเรื่องราวเบื้องหลังของโครงการกับทั้ง 10 ทีม ว่าด้วยการผสานเรื่องราวในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยมีการร้อยเรียงและเชื่อมต่อเรื่องราวของพื้นที่สาธารณะต่างๆ  ให้เกิดการเชื่อมต่อกัน รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับพื้นที่สาธารณะอื่นๆ ใกล้เคียง เช่น พื้นที่ของสวนลุมพินีหรือสวนเบญจกิตติ ทำหน้าที่เป็น Green Corridor ที่สร้างการเชื่อมต่อเพื่อที่จะดึงผู้คนเข้าสู่พื้นที่ของโครงการ ONE BANGKOK

 

โดยในช่วงท้ายของการเวิร์กช็อปครั้งนี้ แต่ละทีมได้ร่วมกันแชร์คำถามเกี่ยวกับพื้นที่และฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆ เพื่อข้อมูลที่ได้รับจากนักออกแบบไปปรับใช้ในการพัฒนางานออกแบบของตัวเองและนำมาเสนอในครั้งต่อไป

Back to top