Workshop Note 06 - Art in the Public Sphere

เข้าใจพื้นฐานของงานศิลปะในพื้นที่สาธารณะไปกับ Sanitas Studio

 

Sanitas Studio เป็นสตูดิโอออกแบบภูมิทัศน์และศิลปะ ก่อตั้งโดย สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ พร้อมด้วยทีมสถาปนิกและภูมิสถาปนิก Sanitas Studio ทำงานในพื้นที่ระหว่างภูมิสถาปัตยกรรมและงานศิลปะ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากบริบททางสังคม การวิจัยเชิงลึกด้านวัฒนธรรม และขอบเขตที่ไร้รอยต่อระหว่างภูมิสถาปัตยกรรมและวิจิตรศิลป์

 

สำหรับการเวิร์กช็อปในครั้งที่ 6 นี้ จึงเป็นการพาไปดูตัวอย่างของการสร้างผลงานศิลปะสาธารณะ โดยเริ่มจากความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความหมายของศิลปะสาธารณะ คุณสนิทัศน์สรุปให้เข้าใจอย่างง่ายว่า งานศิลปะนั้นมีการใช้งานในรูปแบบของตัวเอง โดยศิลปะที่ดีจะสามารถพาผู้ชมไปอีกโลกหนึ่งได้ ไม่ว่าศิลปะนั้นจะมีหน้าที่ทำให้ตื้นตันใจ น่าชื่นชม หรือทำให้ชวนคิด ตั้งคำถามถึงสิ่งรอบๆ ตัว 

 

ยกตัวอย่างผลงานของ Olafur Eliasson กับ ‘The Weather Project’ (2003) การติดตั้งพระอาทิตย์จำลองที่เปลี่ยนบรรยากาศพื้นที่ในร่มให้รู้สึกเหมือนพื้นที่กลางแจ้ง ที่ทำให้ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมไปปิกนิก ไปทำกิจกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เข้าชมงาน หรือผลงาน ‘Chairs For Abu Dhabi’ (2012) ของ Tadashi Kawamata ศิลปินชาวญี่ปุ่นที่ใช้โครงสร้างชั่วคราวที่ติดตั้งในพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่เมืองอยู่เสมอ การเลือกใช้โครงสร้างชั่วคราวเหมือนชวนกระตุ้นให้คนเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อสภาพแวดล้อม

 

คุณสนิทัศน์กล่าวเสริมว่า การสร้างสรรค์และการดูงานศิลปะนั้นจำเป็นต้องยึดโยงกับบริบทโดยรอบ เพราะงานศิลปะไม่ใช่สิ่งที่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องปฏิสัมพันธ์กับบริบทบางอย่างอยู่เสมอ ตั้งแต่เรื่องของวัฒนธรรมไปจนถึงหน้าที่ต่อสาธารณะ สิ่งสำคัญของความเป็นสาธารณะคือปัจจัยที่ทำให้งานศิลปะสาธารณะนั้นมีความแตกต่างจากงานศิลปะที่จัดแสดงในพื้นที่แกลเลอรี่ ผู้เข้าชมมีพฤติกรรมการเข้าชมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง งานศิลปะสาธารณะมีกลุ่มเป้าหมายคือคนทุกคน ทั้งคนในพื้นที่นั้นๆ และคนที่เข้ามาใช้งานพื้นที่ชั่วคราว ผู้สร้างผลงานจึงควรมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะอยู่เสมอ 

 

และยังมีการได้ยกตัวอย่างจุดตัดระหว่างงานศิลปะในพื้นที่สาธารณะในอาคารรัฐบาลกลางสหรัฐโดย GSA หรือ General Services Administration พื้นที่พลาซ่าหน้าอาคารที่มีการใช้งานของผู้คนที่มีจำนวนมากและมีความหลากหลาย เริ่มจากจากงานของ Richard Serra ในปี 1981 ที่ออกแบบให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมกับพื้นที่ด้วยการจัดวางผลงานยาว 36 เมตรแนวตั้งไว้กลางพลาซ่า เพื่อให้งานศิลปะนี้สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลาย แต่ผลที่เกิดขึ้นคือการประท้วงอย่างมากจากพนักงาน เพราะรู้สึกว่าเป็นการขวางเส้นทางการเข้าถึงอาคาร รวมถึงประเด็นด้านความปลอดภัย ด้วยโครงสร้างแบบสูงทำให้มองไม่เห็นเหตุการณ์อาชญากรรมที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ ทางอาคารรัฐบาลกลางสหรัฐจึงได้ตัดสินใจให้มีการปรับเปลี่ยนผลงานภายในพื้นที่ เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกใหม่ด้วยการทำงานร่วมกับ Martha Schwartz ในปี 1997 ได้จัดวางเก้าอี้ทรงโค้งขนาดยาวต่อเนื่อง แต่ปรากฏว่าผู้ใช้งานกลับหลงทาง ไม่อาจหาทางเข้าอาคารเจอได้โดยง่าย ทั้งการออกแบบพื้นที่แบบหันหน้าเข้าหากันยังไม่ตอบโจทย์ของผู้ใช้งานจริง จนจำเป็นต้องรื้อในปี 2008 และปี 2013 ได้ทำงานร่วมกับ Michael Van Valkenburgh เข้ามารับช่วงต่อในปี 2013 โดยการออกแบบพื้นที่สีเขียวให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น เลือกใช้ต้นซากุระเพื่อทำให้เข้าใจฤดูกาล เปิดพื้นที่ด้านในสำหรับนั่ง นี่จึงเป็นกรณีศึกษาสำคัญของพัฒนาการออกแบบและความสำคัญของพื้นที่สาธารณะ ที่จำเป็นต้องสมดุลระหว่างความเป็นสาธารณะ เป้าหมายในการสร้างงานของศิลปิน และบริบท  

 

สำหรับ  Sanitas Studio การสร้างงานศิลปะสาธารณะจึงประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ Public (ความเป็นสาธารณะ) + Artistic Statement (เจตนาของงานศิลปะ) + Context (บริบท) ที่ต้องสมดุลกัน 

 

ส่วนต่อมาคือการแชร์ผลงานชิ้นสำคัญของ Sanitas Studio ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งงานศิลปะจัดวางและการออกแบบภูมิทัศน์ที่นำแนวคิดทางศิลปะเข้ามาปรับใช้ 

 

  • Space for Contemplation 

หนึ่งในหัวข้อและแนวทางที่สตูดิโอสนใจ เนื่องจากการอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้ในบางครั้งเราอาจนึกไม่ออกเลยว่าครั้งสุดท้ายที่เราอยู่กับตัวเองโดยไม่มีเครื่องมือสื่อสารหรือการรับข้อมูลอะไรเลยคือเมื่อไหร่ ดังนั้น การได้กลับมาใกล้ชิดกับธรรมชาติ ได้มองเห็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเล็กๆ ได้เห็นว่า “ความจริงคือความไม่จีรัง” 

 

 

 

 

csdhkw8qbc-cfujEOI8WDkQ_7WeQ6o6YSeLiy6tOJsyKP6RqIw9rHAYVAhGpfnIy2z9HUewJGJJsc6HYs3p3yWUqt_fRZPXGz_MtiJ5UwBnt9X3IR8qz_-QZmBImN5EtH08rP6l-5cmkMTKdXWbbQ01AbzbjCWpOKv3Py8bOWAeDz3rFFmi0VL_gu2jd6w

Photo: ‘Khao Mo (Mythical Escapism)’

 

  • Khao Mo

ผลงาน ‘Khao Mo (Mythical Escapism)’ (2013) เริ่มต้นจากความสนใจส่วนตัวของคุณสนิทัศน์ “เขามอ” ที่จริงแล้วคือภูเขาจำลองในศิลปะไทยโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยา “มอ” เป็นภาษาเขมรแปลว่า “หิน” คนโบราณได้มีแนวคิดว่าแทนที่เราจะไปพักผ่อนในพื้นที่อื่น ก็สามารถจำลองพื้นที่พักผ่อนมาไว้ในพื้นที่ของเราได้
 

ภูมิปัญญาของคนในอดีตที่นำสถาปัตยกรรมชิ้นเล็กๆ มาทำให้ผู้คนได้จินตนาการ ประกอบกับเรื่องความเชื่อ ผลงาน ‘Khao Mo (Mythical Escapism)’ ชิ้นนี้จัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยนำเส้นร่างของภูเขามาปรับใช้กับวัสดุกระจกว่าว แต่ละกล่องกระจกเป็นเหมือนพิกเซลมารวมกัน เพื่อเชิญชวนให้คนเข้ามาในพื้นที่ ได้หยุดความเร่งรีบพักผ่อน ทบทวนตัวเอง โดยมีองค์ประกอบที่เป็นทั้งจุดเริ่มต้นและจุดจบคือ “ดิน” ในปีเดียวกันผลงานได้ถูกย้ายไปไว้ที่ Park @ Siam ซึ่งเป็นพื้นที่สวนกลางแจ้งใจกลางกรุงเทพฯ การพาผลงานเขามอไปไว้ในพื้นที่ที่มีความเป็นเมืองจึงยิ่งทำให้คนทั่วไปได้สัมผัสกับช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง งานศิลปะที่ Sanitas Studio สร้างขึ้นชิ้นนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อช่วยกำหนดช่วงเวลานี้ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

 

xOenJwYpDnr5MGe21oUQ1LeccSbuoPoWp30PMtgN5nGPNmsrl4OxiUum-W4VwGTFa3GqPk_2q1yTcjURiZX20fTyXVYyIazrQ7LLp3bR4n28FAW_QoRwOL6sJx6I2sa5C4B6GoE2RfPr1mfa5BgATlxWkWC6zDEfAbB1dVQ2NMtZxM-yQs33tCq6MAnHwA

Photo: ‘Across the Universe and Beyond’

 

ต่อมาเมื่อคุณสนิทัศน์ได้รับโจทย์จากทีมภัณฑารักษ์ของ Bangkok Art Biennale 2018 เป็นพื้นที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ให้สร้างผลงานเขามอแบบเจาะจงเฉพาะพื้นที่ (site-specific) Sanitas Studio จึงได้ทำการรีโนเวทสวนและทำสวนที่เป็นงานศิลปะไปพร้อมกัน ผลงาน ‘Across the Universe and Beyond’ (2018) แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการนำช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงมาให้ผู้คนทุกคนได้สัมผัส ได้อยู่กับตัวเอง ได้สำรวจการเปลี่ยนแปลงภายในตัวเอง เปรียบเป็นการเชื่อมต่อโลกข้างนอกและโลกข้างในให้เห็นการเปลี่ยนแปลงผ่านสีและแสง 

 

 

YIzh9Iu--H7263aiVbJpP2mxRn1sfiyIo4SftDSFRCaJW_e-n7y0cIeZ4fOjgM7LXXilVFRrag6-N0pTYnphKRbEo8yt_M4pk8A9bf7GIItIX9o57fwKn5KWw17JAv0wm6D6hFyGku7gXq7msfnZjoWp-FKbrp6Lx8J6SP1drYHQsrwhif7LKfYdOAfbdQ

Photo: ‘Equilibrium’

 

  • Equilibrium 

ผลงาน ‘Equilibrium’ (2013) ในเทศกาล Sea Art Festival 2013 ที่เมืองปูซาน ถ่ายทอดความทรงจำของหาดซงโด ชายหาดสาธารณะที่เก่าแก่ที่สุดในเกาหลีใต้ ที่ได้รับการพัฒนาและเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมครั้งแรกในช่วงยุคอาณานิคมญี่ปุ่นเมื่อปีพ.ศ. 2456  สถานที่นี้ได้รับการจัดสรรสำหรับกิจกรรมยามว่างภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ทำให้เกิดความรู้สึกขัดแย้งระหว่างการกดขี่และเสรีภาพขึ้นในเวลาเดียวกัน แต่ด้วยจิตวิญญาณนักสู้ของคนเกาหลีที่มีความ “ล้มแล้วลุก” เหมือนตุ๊กตาล้มลุก คุณสนิทัศน์จึงนำไอเดียนี้มาต่อยอดด้วยการเลือกใช้ทรงของเครื่องปั้นดินเผาสีเขียวที่ผลิตด้วยคุณสมบัติให้ล้มลุกได้ และเริ่มพัฒนาไอเดียจากการขึ้นโมเดลเล็กเพื่อค้นหาความเป็นไปได้ในการผลิตจริง 

 

 

JHONi80sKzEtiNYbwG36IfOPLJCA2HPYCGQ8hjEx20wtZjnICgEiv_79OZ1QSy2aNPYK5gqwKOa3ZvCJaR3jwuNWaanF9MNiIvunockIXbLNkTQTm-HenmYP1t0djftJRpYDF_mUxg-ljNiDCx5ocwdGtdOFWR77j-_dZlCE4oW8ybU54PVJOFmJGiHPlw

Photo: ‘Crafted Land’

 

  • Crafted Land 

สวนปทุมวนานุรักษ์ เซนทรัลเวิล์ด กับเจตนาในการเล่าขานแนวคิดของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทาง Sanitas Studio  สรุปได้ว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 นั้นสอนให้ทำเป็นเอง สอนให้คิดแล้วลองลงมือทำ ผลงาน ‘Crafted Land’ (2014) ชิ้นนี้จึงอยากที่จะให้คนเมืองได้หยุด ได้คิด ได้มีเวลาอยู่กับตัวเอง เห็นภาพของตัวเราสะท้อนในบริบทเมือง ผลงานจึงเหมือนเป็นภูเขาที่มีเส้นทางตัด มีสวนเล็กๆ ที่ประกอบขึ้นจากวัสดุสองอย่างคือ ดินและสแตนเลสเงา ผู้เข้าใช้พื้นที่สามารถเยี่ยมชมสวนสาธารณะเพื่อพักผ่อนและสัมผัสประสบการณ์เชิงแนวคิดในขณะที่เดินเพื่อค้นหาพื้นที่ของตนเอง ไปพร้อมกับตระหนักถึงตัวตนของเราที่อาศัยอยู่ในเมืองได้ในเวลาเดียวกัน

 

 

opG-qxrGkzxbCHTvgvFY6gl5YUhmN0ucusCuhojm7lYwuql-SeYwRg3rIpIGI1g143-AMd4nayNqxk2E_IcTTbP7_SnSNlHQyh-8gKmZ5ri2ToRFpu5XNNxgmtkgE9DFddFDKWbiNdxLXkrJibz1JF6C6xkdDuAub1sn_fbtwnr806FjfFFID1zMZ3p-0w

Photo: ‘In the Mountain’

 

  • In the Mountain 

จากแนวคิดเบื้องหลังผลิตภัณฑ์ดอยตุง ที่เกี่ยวกับการปลูกป่า เมื่อป่ายั่งยืน-คนอยู่ได้ โครงการพัฒนาดอยตุงที่จัดสรรแบ่งพื้นที่ป่าสงวน-ป่าเศรษฐกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่ดี การติดตั้งผลงาน ‘In the Mountain’ (2016) จากผ้าที่เชื่อมต่อกันโดยแขวนอยู่ด้านบน นำโครงสร้างภูมิประเทศ (topography) ของดอยตุงมาออกแบบเป็นเส้นสาย เลือกวัสดุผ้าย้อมด้วยกากกาแฟและชาน้ำมันผลไม้ ซึ่งเป็นพันธุ์พืชที่ใช้ในโครงการพัฒนาดอยตุง ได้ให้ประชาชนและป่าไม้อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

 

 

o2ZEsJnHEXA81L5K73GM9DpXAuwxYJ_uV6sPdHJh85Tr3x7JxTeImaDPBd7zVdx2U3JEtvPndEQersShQUZv_sIZFFuvuXVCCHwROsj2JBvjJFTFk5URQMSTCzVwgIDo3fFArEYQtxxh_11xpLSANSA-PWC-3j3hOpcVeUi84fYL5XJGDfYVan5TLoxJmw

Photo: ‘Mindfulness Amidst Changes at Wonderfruit’

 

  • Mindfulness Amidst Changes at Wonderfruit 

เทศกาลดนตรี Wonderfruit เป็นเทศกาลที่พูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจในการทำให้กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นสร้างขยะเป็นศูนย์ (zero waste) เมื่อทาง Sanitas Studio  ได้ไปลงพื้นที่จริงแล้วพบแต่ความเงียบสงบ จนได้ยินเสียงแมลง คุณสนิทัศน์จึงนึกถึงกล้องสลับลาย (kaleidoscope) และได้นำกลไกมากลับข้างในออกข้างนอก เพื่อให้กระจกเงาได้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบๆ ด้าน ขณะที่ข้างในก็สร้างสรรค์ให้เป็นพื้นที่ที่ไม่มีสี ชวนให้ผู้คนได้เข้ามามีสติท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงผ่านผลงาน ‘Mindfulness Amidst Changes’ (2020)

 

 

DaDFBWlmvPddwuesWHO6Ch2HfOz0vsPYk4XpMs5niHYTKkiPQMApzajY7p7b47K2RS8T1ykiPuCTIgfFS-ORghptCdmTEMv4kbfDqkg-IKo6QqJw7Rm6aCWSun48j_ReFjz5Y1hiOxDolKLx7ZQQLzuczldguFHVh9N0qvpFtX5qoseuE-NTjeplc508Ug

Photo: ‘The Cocoon’

 

  • The Cocoon ที่ The PARQ

ผลงาน ‘The Cocoon’ (2019) เกิดขึ้นจากการพัฒนาแนวคิดร่วมกันกับฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรมของโครงการ The PARQ บอกเล่าเรื่องราวจากบริบทโดยรอบ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ ประกอบด้วยพื้นที่เมือง ชุมชนคลองเตย ท่าเรือคลองเตย ผลงานชิ้นนี้จึงเป็นเหมือนกับบ้านพักของคนเมือง วัสดุสะท้อนทำให้ผลงานปรับเปลี่ยนไปตามแต่ละช่วงเวลาจากเช้า กลางวัน เย็น และลมยังสามารถพัดผ่านได้อย่างสบาย กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีความเป็นงานประติมากรรม ที่เอื้อให้คนได้เข้ามามีพื้นที่ส่วนตัว ประกอบกับข้างในของชิ้นงานมีเสียงกระดิ่งหน้าบ้านหรือกระดิ่งในวัดที่สร้างโดยชุมชนบ้านป่าอาเพื่อให้ความสงบด้วย

 

 

dV88ezGahs1uj1Z2eIPRnJs3n_WskezFm8op8FYPDjqrzXBn_hoKM4R_TP6q7c8CYrUY9iyXc-duBYg7jKKbu5y21KX31vBECo_UCzsw5ZIbxF8ytlOYe9qXoMMBqO62T1BkOkVPxqJO3HD_XcELmTpocRYhAQifbKVsZ3CF8tGMd2u4Bfgj-1Z0bLnjpw

Photo: ‘Moment of Contemplation’

 

  • Moment of  Contemplation 

นิทรรศการ “ห้วงพินิจ Moment of Contemplation" จัดแสดงที่ Gallery Seescape เชียงใหม่ ว่าด้วยเรื่องของการอยู่กับปัจจุบัน จัดแสดงทั้งผลงานผ้าและเซรามิก ส่วนแรกทำจากผ้าย้อมดิน ว่าด้วยเรื่องของการให้คนได้มีช่วงเวลาในการอยู่กับตัวเอง ได้เห็นขั้นตอนของการทำงาน งานเซรามิกที่ทำขึ้นจากดินชนิดเดียวกับที่ใช้ย้อมผ้า เป็นผลลัพธ์ของการตกตะกอนทางความคิดเมื่อศิลปินได้ใช้เวลาที่เชียงดาว เชียงใหม่ ทำให้ได้เรียนรู้ความสงบที่ได้รับ จึงต้องการให้ผู้เข้าชมได้ลองมาสัมผัสความรู้สึกเช่นนั้นผ่านผลงานเซรามิกและอินสตอลเลชั่นที่ทั้งหมดประกอบขึ้นมาจากดินกองเดียวกัน



 

 

FUNCTIONAL SCULPTURE

คุณสนิทัศน์กล่าวโดยสรุปถึงบทบาทหน้าที่ของงานศิลปะสาธารณะ ที่อาจมีเส้นแบ่งระหว่างความเป็นศิลปะและการใช้งานได้จริง สำหรับนักสร้างสรรค์แล้ว จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งว่าเวลาทำงานนั้นผู้สร้างสรรค์ผลงานจะต้องชัดเจนด้วยว่ากำลังให้ความสำคัญกับอะไรมากกว่า ระหว่างศิลปะหรือการใช้งาน เป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการสร้างสมดุลระหว่างจุดเด่นของความเป็นศิลปะที่ยังต้องคงอยู่ พร้อมกับหน้าที่การใช้งานที่ไม่อาจมองข้ามได้ด้วยเช่นกัน

Back to top