INTERVIEW - B3X

เพราะเป็นวัยรุ่นจึงมีหลายโหมด ที่นั่งที่ตอบโจทย์ผู้ใช้คนรุ่นใหม่จากทีม B3X

 

หนึ่งในโหมดการนั่งที่น่าสนใจและเต็มไปด้วยความท้าทายของโครงการ One Bangkok Urban Furniture Competition 2022 "Seatscape & Beyond"  คือ Sit to transfer เพราะเป็นการนั่งที่มีความยึดโยงอยู่กับพฤติกรรมของผู้ใช้งานในระยะสั้น นั่งเพื่อไปต่อยังอีกจุดหมายต่อไป หนึ่งในทีมที่เข้ารอบมาคือ  B3X ซึ่งเป็นนักออกแบบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 3 คนคือ พันธวิรา เงาประเสริฐ ทันตะวัน ทัศน์กระแส และ รัตนาภรณ์ เลิศวิบูลย์กิจ 

 

จากการนำเสนอแบบในครั้งแรกสู่การพัฒนาไอเดียมาเป็นเก้าอี้สำหรับการนั่งรอรถโดยสารที่มีลักษณะเป็นเส้นสาย มาพร้อมกับสีสันและลวดลายที่แตกต่างกันถึง 3 แบบ ซึ่งสะท้อนอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันของ “วัยรุ่น” แต่ละกลุ่ม ซึ่งเฟอร์นิเจอร์สาธารณะที่ต้องมีบทบาทเป็นงานประติมากรรมบริเวณหน้าอาคารห้างสรรพสินค้า ส่งผลให้ทั้งพื้นที่และผู้ใช้งานเปลี่ยนไป ซึ่งความท้าทายอย่างหนึ่งคือการปรับดีไซน์ เพื่อให้ได้ผลงานที่ตอบโจทย์กับความหมายของพื้นที่มากที่สุด 

 

su_ck1nxHZcGc-ZCM0TRM387Xi2zGvrkMmc6zoRKTSOUv45YhOsztNDbwtAvTRSIRKLnwiDWWsnd8_mjloN5mggPgRCFyOquNcQDXWuxM-3reUaYdexZyrf8pQP6t9SM4gFtVK4d4NVhIRgXY57rSfXkG4PUSsUuDkdFNx1Ew2jeo5hzUPC4I0sy3zl9ag


 

เฟอร์นิเจอร์ของทีม B3X มีแนวคิดหลักที่สำคัญอย่างไร

 

ผลงานของทีมเราเป็น urban furniture เฟอร์นิเจอร์ริมทางเดินสำหรับผู้ใช้งานที่ผ่านไปผ่านมา โจทย์ที่ได้คือ Sit to Transfer ซึ่งความหมายคือเป็นที่นั่งสำหรับจุด drop-off ของรถ เป็นที่นั่งที่นั่งเพียงแป๊ปเดียวแล้วก็จะมีรถเมล์มารับคุณไปที่ถัดไป ในส่วนของการออกแบบจึงถูกออกแบบให้ท่านั่งที่ไม่ได้สบายเหมือนเก้าอี้ปกติทั่วไปที่ต้องนั่งเต็มก้น อาจจะมีท่านั่งพิเศษแบบกึ่งนั่งกึ่งยืนบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้งานพร้อมที่จะหยิบของเพื่อลุกเดินขึ้นรถบัสไปยังสถานที่ถัดไปได้อย่างสะดวก 


 

หลังจากทีมตัดสินใจเลือกโหมดแล้ว เก็บข้อมูลอย่างไรก่อนร่างดีไซน์และสมัครเข้าร่วมโครงการ

 

ตอนแรกก่อนเข้ามาเวิร์กชอปเก็บข้อมูลหาข้อมูลทางออนไลน์ แต่ว่าพอเวิร์กชอปแล้วก็มีการลงพื้นที่จริง อย่างเช่นเวลาเดินทางไปเวิร์กชอปก็นั่งรถเมล์ไป นั่งรถไฟฟ้าไป ก็เป็นจุดเปลี่ยนอย่างนึง เพราะเวลาปกติที่ใช้ป้ายรถเมล์ เรามาใช้ป้ายรถเมล์แล้วเราก็ขึ้นรถเมล์ไป พอเราได้มาทำโปรเจ็กต์นี้ มุมมองในการมองป้ายรถเมล์เปลี่ยนไป แต่ก่อนเราให้ความสำคัญกับป้ายรถเมล์น้อยกว่านี้ แต่ว่าพอมามองในมุมนี้ รู้สึกว่าการออกแบบที่นั่งก็มีความสำคัญ การออกแบบฟังก์ชันต่างๆ ให้คนมาใช้ พร้อมที่จะนั่งแล้วก็หยิบของๆ แล้วก็ขึ้นรถเมล์เปลี่ยนไปเป็นการใส่ใจในการออกแบบพื้นที่มากขึ้น ได้ลงไปเป็นผู้ใช้จริงๆ แล้วเราก็ออกแบบงานชิ้นนี้จริงๆ ด้วย


 

จุดเปลี่ยนสำคัญของทีมนี้คือการเปลี่ยนพื้นที่ติดตั้งผลงานจากที่ได้บรีฟมาครั้งแรก ในทีมประชุมกันอย่างไรบ้าง

 

ตอนแรกที่รู้ว่าพื้นที่เปลี่ยนคือกลับมาเปลี่ยนที่แนวคิดและเป้าหมายของทีมเราแทน แต่เดิมเราออกแบบเส้นสายของเฟอร์นิเจอร์จากเส้นทางการเดินมาจากสถานีบีทีเอสถึงโครงการ วัน แบงค็อก แต่ว่าพอได้ย้ายพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายของเราก็มาโฟกัสที่วัยรุ่น เราเลยนำแนวคิดเกี่ยวกับคนรุ่นใหม่มาออกแบบเพื่อให้เข้ากับบริบทและงานออกแบบมากกว่า

 

งานปัจจุบันของเรา ตัวเส้นสายที่ดึงมาจะเกี่ยวกับกราฟชีวิตของวัยรุ่นแทน ว่าวัยรุ่นแต่ละช่วงมีกิจกรรมอะไรบ้าง มีอะไรโดดเด่น มีอารมณ์ไหนที่เด่นบ้าง เปลี่ยนจากเป้าหมายกลุ่มผู้ใช้แต่เดิมเป็นที่รองรับตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุเพราะย้ายมาอยู่หน้าตัวห้างสรรพสินค้า ซึ่งเป็นห้างแฟชั่น ซึ่งเน้นความเป็นวัยรุ่นมากกว่า มีเรื่องราวเกี่ยวกับเสื้อผ้า เป็นแบรนด์สินค้าเกี่ยวกับวัยรุ่น ลวดลายที่มาเปลี่ยนก็คือจะเพิ่มความฉูดฉาดของสีสันขึ้น หรือว่าเพิ่มความหมายให้ดึงดูดสายตาผู้ใช้งาน


 

เส้นสายลวดลายเปลี่ยนไปอย่างไร

 

ตั้งแต่แบบแรกก็มีการเปลี่ยนแนวคิดมาด้วยการตั้งควิซในสตอรี่ของอินสตาแกรม อินไซต์ที่ได้ก็เป็นมุมมองของเราต่อวัยรุ่น ตอนแรกคนอาจจะคิดว่าวัยุร่นใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง แต่ว่าพอมาค้นคว้าจริงๆ แล้ว ก็ได้รู้ว่าวัยรุ่นมีหลายประเภท มีคนชอบหนังอ่านหนังสือเงียบๆ อยู่ในบ้าน วัยรุ่นที่ชอบกางเต๊นท์ นั่งชมธรรมชาติก็มี คนที่ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยงก็มี รู้สึกว่าคำว่าวัยรุ่น มีความหมายกว้างขึ้น

 

ลวดลายเก้าอี้ของทีมเราเลยมี 3 แบบคือ Freedom ลายที่เป็นตัวแทนวัยรุ่นที่รักอิสระ กระตือรือร้น ชอบหาสิ่งใหม่ๆ ทำเพื่อพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ Explore วัยรุ่นที่สำรวจความชอบของตัวเองจนกว่าจะเจอในสิ่งที่ใช่ และลาย Exciting การเติบโตของวัยรุ่นที่ต้องพบเจอเรื่องราวต่างๆ และต้องจัดการความรู้สึกหรือสิ่งใหม่ๆ ที่ถาโถมเข้ามา


 

ทีมของเราได้เรียนรู้อะไรใหม่จากการเข้าร่วมเวิร์กชอปบ้าง

 

ได้รู้ว่าการนำเฟอร์นิเจอร์ไปวางในพื้นที่สาธารณะต้องคำนึงถึงสายตาที่มองมาที่เฟอร์นิเจอร์ คำนึงถึงผู้ใช้ แต่บริบทอื่นที่แวดล้อมก็ค่อนข้างสำคัญเช่นกัน เพราะส่งผลต่อชิ้นงานของเราเหมือนกัน


 

ความประทับใจที่มีต่อโครงการนี้

 

เป็นโครงการใหญ่โครงการแรกที่เข้่าประกวด สิ่งที่อยากได้จากโครงการนี้คือการเวิร์กชอป เพราะว่าการได้เวิร์กชอปกับสตูดิโอที่มีชื่อเสียงน่าจะทำให้เราได้ประสบการณ์ใหม่ๆ เยอะ ได้ความรู้จากการทำงานจริงของสตูดิโอใหญ่ๆ ได้คอนเน็คชั่น แล้วพี่ที่ดูแลกลุ่มเวิร์กชอปของทีมเราค่อนข้างให้คำแนะนำดี


 

ในฐานะนักศึกษาด้านการออกแบบ อยากแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับโครงการนี้ให้กับว่าที่นักออกแบบรุ่นใหม่อย่างไรบ้าง

 

โครงการนี้เป็นโครงการที่ผู้สมัครได้ทำงานจริง รู้สึกว่าอยากให้คนอื่นมาร่วมงาน มาลองสัมผัสดู เพราะได้อัปเกรดทักษะการทำงานของเราเยอะมาก ได้ทำงานกับผู้ดูแลสตูดิโอที่เขามีประสบการณ์ นอกจากนี้ก็ได้ประสบการณ์การทำงานกับเพื่อนร่วมทีมด้วย ซึ่งก่อนที่จะออกมาเป็นแบบล่าสุดก็แก้เป็นหลายสิบรอบ 


 

ความภาคภูมิใจที่มีต่อการเข้าร่วมโครงการนี้

 

มีความภูมิใจแรกก็คือ ตอนที่ช่วยกันคิดแนวคิดและออกแบบ พอเป็นงานใหญ่เราก็จริงจังในการทำงานนี้มากขึ้น เป็นความภูมิใจแรกในการทำงานร่วมกับเพื่อนได้ ความภูมิใจที่สองเป็นตอนที่ติดโครงการและได้เข้ามาเวิร์กชอป พอเข้ามาแล้วเราได้ประสบการณ์เยอะ พอทักษะของเราพัฒนาขึ้นมันทำให้เราภูมิใจมากขึ้นว่าเราได้ทำสิ่งนี้ พัฒนามาถึงจุดนี้ 

 

ตอนแรกๆ ที่เข้าโครงการ สมาชิกในทีมอยู่แค่ปีหนึ่ง เลยค่อนข้างที่จะก้าวกระโดดในการทำงานและทางความคิดด้วย เพราะว่าเวลาไปเวิร์กชอป สภาพแวดล้อมของเราที่อยู่ก็อยู่กับพี่ๆ ปี3 ปี 4 ปี 5 ที่ค่อนข้างจะจริงจังกับงานมากๆ เหมือนเราได้เพื่อนรุ่นพี่เพิ่ม ทำให้เราผลักดันตัวเองหรือพัฒนาด้านความคิดและการแสดงออกด้วย

Back to top