INTERVIEW - INVICI

ชวนนั่งไปกับผลงานของ INVICI เฟอร์นิเจอร์สาธารณะในรูปแบบผลงานศิลปะที่ “เล่น” ได้ 

 

ศิลปะซูฟรีมาติสม์ (Suprematism) แนวทางศิลปะนามธรรมให้ความสนใจกับรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐานและใช้สีสันที่เรียบง่ายและให้ความสำคัญกับความรู้สึกทางศิลปะต่อผู้ชมมากกว่ารูปทรงเชิงวัตถุ ริเริ่มแนวทางโดยศิลปิน คาซิมีร์ มาเลวิช (Kazimir Malevich) นี่คือแรงบันดาลใจหลักของผลงานการออกแบบเฟอร์นิเจอร์สาธารณะจากทีม INVICI โดย ธฤต ไทยานนท์ จากวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ตั้งเป้าหมายในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและเปลี่ยนให้เป็นงานออกแบบที่ใช้งานได้จริง


 

I9UPexZ64OjJOOjf1nsMSQbnHSm6bpwn0MzyhXL0NBDRscN3BpMHF96-bufrQa8fAKxRtfDXLssXntK4nnUZGMSR-ZTgXznr5RgGGD3gi1LGM0egRg_pyZMrf1sGndR9D1BMs2ulxAuJp5aFvshVmeSa5Euy2DLYybQHGYk_NMTqA4DSP2cpykuwx9WedQ



 

การพัฒนาแบบดีไซน์ตั้งแต่แรกจนถึงตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

 

จริงๆ แนวคิดในตอนแรกคือ ผมอยากจะมองในมุมกลับกัน ว่าถ้าผมเริ่มคิดจากการที่ผลงานชิ้นนี้เป็นศิลปะได้หรือเปล่า เหมือนปกติเวลาออกแบบเฟอร์นิเจอร์เราก็จะคิดจากมุมว่า เฟอร์นิเจอร์ก็คือการออกแบบเก้าอี้ การออกแบบโต๊ะ ผมเริ่มจากว่าถ้ามองว่ามันเป็นผลงานศิลปะแล้วใส่ฟังก์ชันเข้าไป เริ่มจากการค้นหาความเป็นไปได้เรื่องรูปทรงต่างๆ 

 

ผมพยายามทำให้เฟอร์นิเจอร์มีความยืดหยุ่นในตัวเองด้วย จะเห็นว่างานของผมมีความเป็นรูปทรงเรขาคณิตเรียบๆ แต่ว่าสามารถต่อกันไปมาได้ มีความแปลกตา เหมือนเป็นการทดลองจากตัวเองด้วย แล้วก็ทดลองกับวิธีคิด


 

หลังจากที่เราได้เข้าร่วมโครงการ เจอความท้าทายอะไรในการสร้างสรรค์ผลงานบ้าง

 

ความง่ายคือการที่ผลงานเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นความยากเพราะว่ามันเปลี่ยนได้ตลอด ไม่มีฟอร์มที่ตายตัว หมายถึงแบบที่จะคิดออกมาก่อนจะต้องเลือกฟอร์มที่ดีที่สุด ลงตัวที่สุด ฟังก์ชั่นจะต้องปลอดภัยด้วย มันเลยเป็นความง่ายในความยาก ในเรื่องของรูปแบบฟอร์ม

 

แต่ว่าประเด็นหลักของวิธีคิดยังอยู่ คืออยากให้ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อม โดยหน้าที่หลักของอาจจะไม่ใช่แค่การนั่งสบาย แต่ต้องสามารถสื่อสารกับคนใช้งานได้


 

มีมุมมองหรือความรู้ใหม่อะไรที่ได้จากการพัฒนาแบบ

 

ส่วนที่ผมมองคือเรื่องของการดูแลรักษา หรือการที่ทาง landscape บอกว่าพื้นที่ตรงนี้ต้องเผื่อไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน คือรถดับเพลิงสามารถเข้ามาถึงพื้นที่ได้ กลายเป็นการปรับแบบให้เฟอร์นิเจอร์ต้องเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งการเป็นเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้งแล้วเคลื่อนย้ายได้ก็เป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะสเกลใหญ่และหนักมาก ก็เลยเป็นความท้าทายว่าผมต้องออกแบบยังไงให้สามารถปรับเปลี่ยนหรือถอดประกอบได้ ก็เลยแยกออกจากดีไซน์ที่ตอนแรกตั้งอยู่กับที่ ไม่ขยับ แล้วตอนนี้ก็คือต้องออกแบบให้ถอดได้ทุกชิ้น


 

เลือกใช้กลไกอะไรมาช่วยในการถอดเป็นชิ้นบ้าง

 

จริงๆ ของผมใช้เทคนิคพื้นฐานเป็นการยึดแบบชิ้นต่อชิ้นปกติ ผมรู้สึกว่างานมันยากตรงวิธีคิดมากกว่า 


 

เวิร์กชอปครั้งไหนประทับใจที่สุด

 

ผมรู้สึกว่าได้ความรู้ทุกครั้ง น่าสนใจทุกอัน อย่างเช่น ครั้งที่เลคเชอร์เรื่องรายละเอียดการก่อสร้างโดย Geodesy Studio ก็เลคเชอร์เรื่องแลนด์สเคป ด้วยพื้นฐานผมเรียนอินทีเรีย ก็ได้รู้ว่าวิธีการทำงานแลนด์สเคปคิดกันอย่างไร เหมือนได้มองกลับไปกลับมา ได้เห็นหลายมุมมองมากขึ้น เป็นประโยชน์หลักที่ได้ใช้ 


 

ความรู้ที่ได้นำมาปรับใช้กับโปรเจกต์อื่นด้วยอย่างไร

 

ความรู้ที่ได้สำคัญครับ ช่วยให้เรามองโลกในมุมที่กว้างขึ้น เข้าใจปัญหา เข้าใจคนอื่น ให้ความสำคัญว่าคนจะรู้สึกอย่างไร คนที่เข้ามาใช้งานรู้สึกอย่างไร คนที่เขาทำความสะอาดเขาจะทำอย่างไร ทำให้เรามองในมุมที่กว้างขึ้นมากกว่าการที่เราจะออกแบบให้สวยเพียงอย่างเดียว


 

แล้วในฐานะดีไซเนอร์ มีความคาดหวังหรืออยากให้ผู้ใช้งานเฟอร์นิเจอร์ของเรารู้สึกอย่างไร

 

ถ้าย้อนกลับไปตอนคอนเซปต์แรกที่คิดคือผมอยากให้มันเป็นงานศิลปะ เป็นเหมือน functional art หัวใจหลักของศิลปะก็คือการสื่อสาร อยากจะให้งานของผมเป็นสิ่งที่มากกว่าการใช้ฟังก์ชั่น แต่ว่าเป็นสิ่งที่สามารถสื่อสารทางความรู้สึกกับผู้คนที่เข้ามาใช้งานหรือผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาว่า จริงๆ งานชิ้นนี้คือการตั้งคำถามให้คนเกิดความคิด เป็นการนำสิ่งที่หน้าตาอาจจะแตกต่างหรือประหลาดเพื่อกระตุ้นให้คนเกิดมุมมองใหม่ๆ 

Back to top